กล่าวได้ว่าแนวคิดหลังสมัยใหม่(postmodernism) ได้ก่อกระแสความนิยมจนดูเป็น “แฟชั่น” ในปัจจุบัน โดยได้ส่งอิทธิพลและได้ขยายขอบเขตไปยังศาสตร์แขนงต่างๆตั้งแต่ศิลปะ ปรัชญา สถาปัตยกรรม วรรณกรรม หรือแม้กระทั่งวงการธุรกิจ
ตลอดทั้งสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์อื่นๆทั้งนี้ด้วยเพราะอิทธิพลของเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าของสื่อที่ปรากฏตัวได้ทุกหนทุกแห่ง(omnipresence)
โดยเฉพาะจากเงื่อนไขการเป็นโลกไร้พรมแดนหรือโลกาภิวัตน์(globalization)ที่ช่วยบีบอัดมิติเชิงพื้นที่(space)และกาลเวลา(time)ให้ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจและเทคโนโลยีนอกจากนี้ยังมักมีการกล่าวอ้างว่าจากการเกิดขึ้นของเงื่อนไขโลกาภิวัตน์ที่มีส่วนสําคัญในการสร้างสรรค์นวัตกรรมต่างๆด้านการติดต่อสื่อสารการคมนาคมด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้านั้น
ได้สนับสนุนทําให้เกิดรูปแบบชีวิตสมัยใหม่ที่ถูกลดการผูกขาดหรือรวมศูนย์ไว้แห่งใดแห่งหนึ่งขึ้นมาและเนื่องจากเงื่อนไขที่แต่ละสังคมต่างๆต้องปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน
จึงทําให้เกิดสังคมพหุลักษณะทางวัฒนธรรม(a culturally pluralistic) ซึ่งมีส่วนทําให้เกิดการลดการผูกขาดของศูนย์กลางอํานาจใดอํานาจหนึ่งฝ่ายเดียวไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองการสื่อสารหรือแม้แต่การผลิตด้านภูมิปัญญาต่างๆดังนั้นจึงอาจกล่าวได้ว่าเงื่อนไขของความเป็นหลังสมัยใหม่(postmodernity)นั้นอาจเกี่ยวโยงกับสามมิติหลักๆซึ่งต่างสัมพันธ์กันคือ
มิติแรกเกี่ยวพันกับพื้นที่ของพัฒนาการทางสังคมที่พ้นยุคสมัยใหม่(modernera)ซึ่งหมายถึงการก้าวสู่และการสถาปนาสังคมอุตสาหกรรมก้าวหน้าและนําไปสู่กระบวนการกลายเป็น เมือง(urbanization)รวมทั้งอิทธิพลของรูปแบบความมีเหตุผลของชนชั้นกลาง
ตลอดทั้งความสามารถในการพัฒนาเทคโนโลยีทันสมัยโดยเฉพาะคอมพิวเตอร์ซึ่งได้กลายมาเป็นฐานในการเก็บข้อมูลข่าวสารต่างๆและเผยแพร่ออกมาโดยความรู้ได้ถูกทําให้กลายเป็น สินค้า(commodified)เทคโนโลยีทางการสื่อสารผ่านการพัฒนาคอมพิวเตอร์ทําให้สังคมถูกครอบงําด้วยสื่อมวลชนและ คอมพิวเตอร์(computerization
of society) ดังนั้นจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์และชีวิตทางสังคมของมนุษย์อย่างลึกซึ้งและได้เอื้อต่อการเกิดเงื่อนไขของหลังสมัยใหม่ขึ้นมา
มิติที่สองเกี่ยวกับธรรมชาติและวัตถุวิสัยของการวิเคราะห์ทางสังคม เนื่องจากเงื่อนไขข้างตนก่อให้เกิดการเคลื่อนไหวทางความคิดขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นการปฏิเสธวิธีการแบบเดิมๆในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ซึ่งปฏิเสธตัวตนของผู้ศึกษา(subject)และการให้ความสําคัญกับความเป็นมนุษยนิยม(humanism)มากเกินไป
รวมทั้งวิพากษ์การสรุปรวบและบรรดาทฤษฎี “เบ็ดเสร็จ”
(total theories) ซึ่งวิธีคิดดังกล่าวมักจะเน้นถึงรายละเอียดของสาเหตุและโครงสร้าง
นอกจากนี้ยังได้ตั้งคําถามต่อคุณค่าและการค้นพบความรู้แบบวัตถุวิสัยของวิทยาศาสตร์หรือความจริง(truth)ด้วย
มิติสุดท้าย คําว่าเงื่อนไขของ “หลังสมัยใหม่นิยม” นั้นได้ถูกใช้กับรูปแบบทางวัฒนธรรมที่เข้ามาแทนที่รูปแบบของความเป็นสมัยใหม่(modern)
ซึ่งได้ถูกใช้ในงานศิลปะและสถาปัตยกรรม
อย่างไรก็ตามมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าแนวคิดหลังสมัยนิยมนี้ได้ทําให้ความมั่นคงในตัวตนของชนชั้น กลาง(bourgeois) ของชนชั้นผู้ใช้แรงงานมากขึ้น และก่อให้เกิดสื่อกลางทางวัฒนธรรมแบบใหม่อีกทั้งหลังสมัยใหม่นิยมยังถูกมองว่าเป็นดังของขวัญพระผู้เป็นเจ้า(godsend)ที่มอบชดเชยแด่ชนชั้นกลางเพราะว่ามันนํามาทั้งความสันติสุขและการวิพากษ์โดยแทนที่สัจจนิยม(realism)ด้วยการกระจายลดทอนความเป็นตัวตนชนชั้นผู้ใช้แรงงานที่เคยมีอยู่ให้ลดลง(โดยเฉพาะจากอิทธิพลของแนวคิดมาร์กซิสม)
และปลดเปลื้องเอาสมัยใหม่นิยมออกไปในฐานะที่เป็นดั่งลัทธิของตัวหลักทางการวิพากษ์วิจารณ์ซึ่งครั้งหนึ่งทั้งสัจจนิยมและสมัยใหม่นิยมนี้ได้เคยเป็นสิ่งที่ท้าทายตัวตนชนชั้นกลางมาก่อนตั้งแต่สิ้นสุดศตวรรษที่๑๙
เป็นต้นมา
นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่าแนวคิดหลังสมัยใหม่มีอิทธิพลและสัมพันธ์กับขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมรูปแบบต่างๆภายใต้ความคิดของการต่อต้านอุดมการณ์(anti-ideological idea) ไม่ว่าจะเป็นการเคลื่อนไหวของสตรีนิยม
ขบวนการเคลื่อนไหวเรียกร้องความเสมอภาคทางเชื้อชาติการเคลื่อนไหวของสิทธิต่างๆเช่น
ชาวเกย์/รักรวมเพศ ตลอดทั้งกลุ่มแนวคิดอนาธิปไตยแห่งปลายศตวรรษที่ ๒๐ขบวนด้วยเหตุนี้ตามแนวคิดของกลุ่มหลังสมัยใหม่นิยมนั้นเชื่อว่ามีความจริงที่หลากหลายเหลือคณานับ
ดังนั้นจึงไม่มีการตีความใด คําตอบใดเหนือกว่าสิ่งใดหรือเป็นที่สุด จึงจําเป็นต้องหันมาให้ความสนใจในส่วนย่อยมากขึ้นโดยเฉพาะเนื้อหาในชีวิตประจําวันของคนธรรมดาและการเล่าเรื่องระดับ/พื้นที่ท้องถิ่น(local/small
scaled knowledge) เช่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน ตํานาน สุภาษิตประวัติศาสตร์ท้องถิ่นสนใจต่อกลุ่มชายขอบ(margin)และเคารพต่อพื้นที่ของผู้อื่น(Others)มากกว่าอภิตํานาน/วาทกรรมหลักหรือที่มีลักษณะเบ็ดเสร็จ(totality) เนื่องจากความรู้ความจริงและอํานาจมีความสัมพันธ์กัน กล่าวคือความรู้ได้ถูกสร้างขึ้นและความรู้นั้นมีอํานาจในการสร้าความจริง
ภายใต้การตีกรอบของกลุ่มอุดมการณ์/ผลประโยชน์ต่างๆเช่นนั้นอคติของ “ผู้ประพันธ์” จึงอาจแฝงมาในงานเขียน
โดยเลือกตีความตามพื้นฐานความคิด/ผลประโยชน์ของตนเองนการเคลื่อนไหวทางสันติภาพ
รวมทั้งขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านโลกาภิวัตน์เป็นตน
อย่างไรก็ตามในการประยุกต์ใช้แนวคิดหลังสมัยใหม่นิยมกับสังคมวิทยานั้น
จําเป็นที่จะไม่จํากัดความสนใจในขอบเขตของทฤษฎีสังคมวิทยา(sociological theory)เท่านั้น หากควรพิจารณาในมุมมองของทฤษฎีทางสังคม(social
theory) เนื่องจากในมุมมองของทฤษฎีทางสังคมนั้นจําเป็นต้องให้ความสนใจหลากหลายสาขาซึ่งจําเป็นที่ผู้ใช้แนวคิดหลังสมัยใหม่นิยมนี้จําต้องมีความรอบรู้และสามารถเชื่อมโยงแนวความคิดกับศาสตร์สาขาอื่นๆมากยิ่งขึ้น
โดยเฉพาะการพิจารณาร่วมกับประเด็นคลาสสิกของสังคมศาสตร์-มนุษยศาสตร์นั้นคือทางสองแพร่งของทฤษฎี
agent-structure ซึ่งนักคิดหลังสมัยนิยมพยายามที่จะแก้ปมปัญหาดังกล่าว
สืบค้นจาก : เรื่องpostmodernism(ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก http://www.museum.msu.ac.th/webMuseum2/article/2.pdf สืบค้นวันที่ 1กันยายน 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น