ข้อมูลทั่วไป
ชื่อทางการ มองโกเลีย (Mongolia)
พื้นที่ 1.5 ล้าน ตร.กม.
ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง ภูเขา และทุ่งหญ้า ไม่มีอาณาเขตติดทะเล
เมืองหลวง กรุงอูลันบาตอร์
ประชากร 2.68 ล้านคน
ภาษาราชการ มองโกล (Mongol Khalkha)
ศาสนา พุทธ (นิกายลามะ)
ประธานาธิบดี
นายนัมบาริน อิ๊งค์บายาร์ (Nambaryn Enkhbayar)
นายกรัฐมนตรี
นายมิเยกอมโบ อิ๊งค์โบลด์ (Miyegombo Enkhbold)
ระบอบการปกครอง เสรีประชาธิปไตย (Parliamentary
Republic)
เขตการปกครอง แบ่งออกเป็น 21 จังหวัด
วันชาติ 11กรกฎาคม
วันสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับไทย 5 มีนาคม 2517
หน่วยเงินตรา ตูริก (1,000 ตูริก เท่ากับ 25 บาท)
สินค้านำเข้าสำคัญ น้ำมัน โลหะ เครื่องจักรกล วัสดุก่อสร้าง
สินค้าส่งออกสำคัญ ทองแดง ขนสัตว์ เครื่องหนัง เนื้อสัตว์
ธงชาติใช้ครั้งแรกเมื่อปี 2483 สีแดง หมายถึง ความก้าวหน้า สีฟ้า หมายถึง
ท้องฟ้าที่กว้างใหญ่ เครื่องหมายสีเหลืองเป็นสัญลักษณ์ “Soyombo” หมายถึง ศาสนา
ประวัติความเป็นมา
ประเทศมองโกเลีย (อังกฤษ: Mongolia;
มองโกเลีย: Монгол Улс) เป็นประเทศในทวีปเอเชียที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลใหญ่เป็นอันดับที่สองของโลกรองจากประเทศคาซัคสถาน
มีพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศรัสเซีย และทางใต้ติดกับประเทศจีน
มีพื้นที่ที่สามารถใช้สำหรับการเกษตรได้น้อยกว่าร้อยละหนึ่ง มองโกเลียมีประชากรเพียง 3 ล้านกว่าคน แต่มีพื้นที่ใหญ่กว่าประเทศไทยถึงกว่า
3 เท่า
ซึ่งทำให้ประเทศมองโกเลียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความหนาแน่นของประชากรน้อยที่สุดในโลก
ประชากรส่วนมากนับถือศาสนาพุทธนิกายวัชรยานแบบทิเบต และประชากรร้อยละ 38
อาศัยอยู่ในเมืองหลวงอูลานบาตอร์
ความเป็นมาก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 19
มองโกเลียเคยเป็นศูนย์กลางของจักรวรรดิมองโกลในช่วงคริสต์ศตวรรษที่
13
ซึ่งต่อมาได้ยึดอำนาจเข้าปกครองจีนในนามของราชวงศ์หยวนแต่ก็ต้องมาเสียอำนาจเมื่อราชวงศ์หมิงและราชวงศ์ชิงเข้ามามีอำนาจซึ่งทางมองโกเลียเองต้องอยู่ใต้อำนาจของราชวงศ์ดังกล่าวอีกด้วย
มองโกเลียได้รับเอกราชจากจีนเมื่อปี พ.ศ. 2464 (ค.ศ. 1921)
จากการช่วยเหลือของสหภาพโซเวียตแต่ต้องสถาปนาการปกครองเป็นระบอบคอมมิวนิสต์ตามแบบประเทศเพื่อนบ้าน
ลัทธิคอมมิวนิสต์สิ้นสุดลงจากมองโกเลียเมื่อปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ.
1990) ปีเดียวกันกับการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
ซึ่งต่อมามองโกเลียได้นำระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภามาใช้กับตน
การเมืองการปกครอง
นโยบายรัฐบาล
•
นับตั้งแต่ประกาศเอกราชจากจีนเมื่อปี 2464 และประกาศสถาปนา “สาธารณรัฐ ประชาชนมองโกเลีย” เมื่อปี 2467
(เป็นคอมมิวนิสต์ลำดับที่สองของโลกต่อจากสหภาพโซเวียต) จนถึงช่วงสงครามเย็น
มองโกเลียได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรที่ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ทำให้สหภาพ
โซเวียตมีอิทธิพลครอบงำมองโกเลียในทุกด้าน ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ
สังคมและวัฒนธรรม
•
การล่มสลายของสหภาพโซเวียตและระบบคอมมิวนิสต์ได้ก่อให้เกิดกระแสการเปลี่ยน
แปลงครั้งใหญ่ในมองโกเลีย
มีการเปลี่ยนแปลงระบบการเมืองการปกครองไปสู่ระบบเสรีประชาธิปไตย
ได้แก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายน 2533
โดยให้ประธานาธิบดีซึ่งมาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นประมุขประเทศ มีวาระ
4 ปี ให้ประชาชนมีสิทธิจัดตั้งพรรคการเมืองต่าง ๆ โดยได้จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งแรกเมื่อวันที่
29 กรกฎาคม 2533
• มองโกเลียมีระบบสภาเดียว คือ สภาผู้แทนราษฎร (State
Great Hural – SGH) มีสมาชิกจำนวน 76 คน มีวาระ 4 ปี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมองโกเลียครั้งล่าสุดจัดขึ้นเมื่อวันที่ 27
มิถุนายน 2547 ผลการเลือกตั้งปรากฎว่า พรรคปฏิวัติแห่งประชาชนมองโกเลีย (Mongolian
People’s Revolutionary Party – MPRP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลเดิมได้ 36
ที่นั่ง (ลดลงจากการเลือกตั้งเมื่อปี 2543 ที่ได้รับเลือกตั้ง 72 ที่นั่ง
จากทั้งหมด 76 ที่นั่ง) และพรรคผสมประชาธิปไตย (Motherland Democratic
Coalition – MDC) ได้ 34 ที่นั่ง พรรคอิสระได้ 3 ที่นั่ง และพรรค Mongolian
Republican Party ได้ 1 ที่นั่งต่อมา สภา SGH ได้มีมติแต่งตั้งให้นายซักเคีย
แอลเบดอร์จ (Tsakhia Elbegdorj) จากพรรคผสมประชาธิปไตย
ดำรงตำแหน่ง นายกรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2547 และนาย Tsendiin
Nyamdorj ดำรงตำแหน่งประธานรัฐสภา เมื่อวันที่ 18 สิงหาคม 2547
• เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2549 สภา SGH ได้ลงคะแนนเสียงล้มรัฐบาลมองโกเลีย หลังจากรัฐมนตรีซึ่งสังกัดพรรค MPRP
จำนวน 10 คน ได้ลาออกจากรัฐบาลผสมภายใต้การนำของนายซักเคีย แอลเบดอร์ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2549 โดยอ้างเหตุผลเศรษฐกิจตกต่ำ
อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นและการทุจริตในรัฐบาล ต่อมา สภา SGH ได้แต่งตั้งคณะรัฐมนตรีโดยมีนายมิเยกอมโบ
อิ๊งค์โบลด์ (Nambaryn Enkhbayar) เป็นนายกรัฐมนตรี
• วันที่ 22 พ.ย. 2550 รัฐสภามองโกเลียได้เห็นชอบแต่งตั้งนายซานจ์
บายาร์ (Sanj Bayar) ประธานพรรคปฏิวัติประชาชนมองโกเลีย (Mongolian
People’s Revolutionary Party - MPRP) คนใหม่เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่
24 ต่อจากนายมิเยกอมโบ อิ๊งค์โบลด์ (Miyegombo Enkhbold) อดีตนายกรัฐมนตรี
หลังจากที่ นายมิเยกอมโบ อิ๊งค์โบลด์
ได้ยื่นหนังสือลาออกต่อรัฐสภา
และรัฐสภามองโกเลียได้มีมติอนุมัติการลาออกของเขาเมื่อวันที่ 8 พ.ย. 2550
โดยสาเหตุการลาออกเนื่องมาจากปัญหาการทุจริต
และการให้สัมปทานเหมืองแร่กับบริษัทต่างชาติโดยมีผลประโยชน์แอบแฝง
การยักยอกเงินออมในธนาคารของมองโกเลีย (Saving Banks) โดยสมาชิกพรรค
MPRP จำนวน 3 คน
• นโยบายของรัฐบาลปัจจุบันยังคงให้ความสำคัญกับการดำเนินการตามแผนปฏิบัติการ
ของรัฐบาลมองโกเลียประจำปี 2547-2551 (Plan of Action of Government of
Mongolia 2004-2008) ที่รัฐบาลชุดก่อนได้วางไว้ ดังนี้
(1) ยกระดับการบริการสาธารณะ และการปรับปรุงระบบราชการ
(2) คงไว้ซึ่งการเติบโตด้านเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนการลงทุนของภาคเอกชน
การเข้าถึงตลาดใหม่ๆ
ทั้งนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อลดช่องว่างในพัฒนาระหว่างเมืองและชนบท
(3) พัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจด้านประชาธิปไตย
สิทธิมนุษยชน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม และขนบธรรมเนียมประเพณีการปกครอง
ด้านเศรษฐกิจ
ทองแดง |
เนื่องจากมองโกเลียอยู่ภายใต้อิทธิพลของสหภาพโซเวียตมาตั้งแต่ปี
2467 จึงทำให้สหภาพโซเวียตเป็นประเทศคู่ค้าสำคัญ
ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในสหภาพโซเวียตตั้งแต่ปี 2534 ทำให้ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศลดลง
และส่งผลกระทบให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิจขึ้นในมองโกเลีย
วิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่มองโกเลียกำลังเปลี่ยนแปลง
การปกครองจากระบบสังคมนิยมมาสู่ระบบตลาดเสรี มองโกเลียจึงเร่งเปิดประตูสู่นานาชาติมากขึ้นรัฐบาลมองโกเลียภายใต้การนำของนายมิเกกอมโบ อิ๊งค์โบดลด เน้นการแก้ปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำ ปัญหาความยากจน
และยังคงดำเนินนโยบายเปิดกว้างทางเศรษฐกิจและการลงทุน (นักลงทุนต่างชาติสามารถลงทุนได้ 100%) เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรม เกษตรกรรม และการบริการสภาวะทางเศรษฐกิจของมองโกเลียในช่วงแรกที่เริ่มปรับเปลี่ยนสู่ระบบตลาดเสรี
มีความผันผวนอย่างมาก และได้เริ่มปรับตัว
มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา โดยในปี 2548
มีอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจร้อยละ 5.5
และอัตราเงินเฟ้อร้อยละ 11 (ที่มา: Mongolia Annual
Economic Development Report/ADB Forecast และ CIA : The
World Factbook)
•ปัจจุบัน มองโกเลียถือได้ว่าเป็น new market
economy ซึ่งเปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุนได้ 100% ในด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน คมนาคม โดยเฉพาะด้านอุตสาหกรรมเหมืองแร่
เนื่องจากมองโกเลียอุดมไปด้วยแร่ธาตุ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ทองแดง
ถ่านหิน โมลิบดีนั่ม ดีบุก ทังสเตน และทองคำ โดยเฉพาะถ่านหิน ทองคำ และทองแดง
เป็นรายได้หลักสำคัญของมองโกเลียในปัจจุบัน
•ประชากรชาวมองโกเลียประมาณ 47%
อยู่ในภาคเกษตรกรรม และมีหมู่บ้านจำนวน 329
หมู่บ้านที่มีอาชีพเลี้ยงสัตว์ โดยมองโกเลียมีจำนวนสัตว์เลี้ยงประมาณ 28 ล้านตัว แต่สามารถผลิตสินค้าอุปโภคบริโภคใช้ภายในประเทศเพียง 30% และต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 70% ดังนั้น รัฐบาล
มองโกเลียจึงกำหนดให้การพัฒนาเกษตรกรรมเป็นความสำคัญเร่งด่วนและกำหนดแผนในการพัฒนาการเกษตร โดยมุ่งเน้นการพัฒนาด้านปศุสัตว์ให้ทันสมัย และกำหนดให้ปี ค.ศ. 2010 สามารถผลิตพืชผักเพื่อการบริโภคภายในประเทศอย่างเพียงพอ
•คู่ค้าที่สำคัญของมองโกเลียคือ จีน และรัสเซีย
โดยจีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 1 ของมองโกเลีย
สินค้าส่งออกที่สำคัญ เช่น ทองแดง เสื้อผ้า ปศุสัตว์ ผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์แคชเมียร์ ขนแกะ และรัสเซียเป็นตลาดนำเข้าอันดับ 1 สินค้านำเข้าที่สำคัญ
เช่น เครื่องจักรและอุปกรณ์ น้ำมัน รถยนต์ ผลิตภัณฑ์อาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค
อุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นต้น
เศรษฐกิจการค้า
สินค้าส่งออกที่สำคัญ แร่โมลิบดีนัม ทองแดง ขนสัตว์ เครื่องหนัง พรมขนสัตว์ เนื้อสัตว์ ไม้ท่อน(แร่โมลิบดีนัมและทองแดงเป็นสินค้าออกที่สำคัญมีมูลค่าครึ่งหนึ่งของสินค้าออกทั้งหมด)สินค้านำเข้าที่สำคัญ น้ำมัน โลหะ เครื่องจักรกล วัสดุก่อสร้าง ยานพาหนะ อาหาร(น้ำมันเป็นสินค้านำเข้าที่สำคัญมีประมาณครึ่งหนึ่งของสินค้านำเข้าทั้งหมด)ประเทศคู่ค้าส่งออกที่สำคัญ 1. จีน (ร้อยละ 42) 2. สหรัฐอเมริกา
(ร้อยละ 31.6) 3. รัสเซีย (ร้อยละ 9)
4. เกาหลีใต้ (ร้อยละ 4.3)
5. ญี่ปุ่น (ร้อยละ1.2)
ประเทศคู่ค้านำเข้าที่สำคัญ 1. รัสเซีย(ร้อยละ 34.4)
2.จีน
(ร้อยละ 24.3) 3. ญี่ปุ่น(ร้อยละ 6.2) 4.เยอรมนี (ร้อยละ4.4) 5. สหรัฐอเมริกา (ร้อยละ 3.4) ตลาดหุ้น Mongolian Stock Exchange การลงทุนจากต่างประเทศ ช่วงปี
2533-2545 มีนักลงทุนจาก 72 ประเทศเข้ามาลงทุนในมองโกเลีย
จำนวน 2,399 ราย มูลค่าการลงทุนรวม 660.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศที่เข้าไปลงทุนมากที่สุด ได้แก่ จีน รัสเซีย
และเกาหลีใต้ สาขาการลงทุนที่รัฐบาลมองโกเลียให้การส่งเสริม ได้แก่ โครงการสาธารณูปโภคพื้นฐาน อุตสาหกรรมการสำรวจและแปรรูปแร่ธาตุ การท่องเที่ยว
และการโรงแรม
ด้านศาสนา
ปัจจุบันชาวมองโกลส่วนใหญ่นับถือ ศาสนาพุทธ-นิกายลามะ และลัทธิชามาน(แตกแขนงออกมาจากศาสนาพุทธนิกายลามะในภายหลัง) ซึ่งมีต้นกำเนิดมาจากทิเบต มีลามะ เป็นผู้นำทางศาสนา
สถิติล่าสุด
(จาก Operation World - 1 มกราคม 2003) เป็นไปตามลำดับดังนี้
1) ผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายลามะและลัทธิชามาน 53.7 %
2) ผู้นับถือศาสนาอื่น
ๆรวมไปถึงไม่เลือกนับถือศาสนาใด 41.6 %
3) ชาวมุสลิม(ส่วนใหญ่เป็นชาวคาซัค)
4 %
4) ชาวคริสต์(ส่วนใหญ่เป็นชาวรัสเซีย) 0.71 %
ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมองโกเลีย
1. ยุทธศาสตร์ของไทยต่อมองโกเลีย
สนับสนุนให้มองโกเลียมีบทบาทอย่างแข็งขันในเวทีการเมืองระหว่างประเทศทั้ง
ในด้านการเมืองและเศรษฐกิจ เพื่อเป็นพันธมิตรกับไทยในเวทีระหว่างประเทศต่างๆให้ความช่วยเหลือแก่มองโกเลียในสาขาที่ไทยมีความเชี่ยวชาญและมีความพร้อม
โดยเฉพาะในสาขาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งจะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ
2.
ความสัมพันธ์ทั่วไป
ไทยสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับมองโกเลียเมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2517
โดยกำหนดให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง มีเขตอาณาครอบคลุมมองโกเลีย
และแต่งตั้งให้เอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ
กรุงอูลันบาตอร์อีกตำแหน่งหนึ่งสำหรับฝ่ายมองโกเลียในช่วงแรกได้แต่งตั้งให้
เอกอัครราชทูตมองโกเลีย ณ เวียงจันทน์
ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทยอีกตำแหน่งหนึ่ง ต่อมาเมื่อวันที่
16 กุมภาพันธ์ 2543
มองโกเลียได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทยขึ้น มีนายลูฟซันดอร์จ บายาร์ท (Luvsandorj
Bayart) เป็นเอกอัครราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทยคนแรก ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับมองโกเลียโดยทั่วไปดำเนินไปอย่างราบรื่น
แต่การ ติดต่อระหว่างกันมีน้อย
เนื่องจากมองโกเลียเป็นประเทศห่างไกลและอยู่ภายใต้อิทธิพลของอดีตสหภาพ โซเวียตมาเป็นเวลานาน
เมื่อมองโกเลียได้ปรับเปลี่ยนระบบการเมืองและเศรษฐกิจภายในประเทศไปสู่ระบบ
เสรีประชาธิปไตยในปี 2533
การติดต่อแลกเปลี่ยนระหว่างไทยและมองโกเลียจึงมีเพิ่มมากขึ้นและได้มีการ
เยือนระหว่างกันที่สำคัญ ได้แก่ การเสด็จฯ เยือนมองโกเลียของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 6-12 ตุลาคม 2535 ตามคำกราบบังคมทูลเชิญของประธานาธิบดีมองโกเลีย
และการเดินทางเยือนไทยของประธานาธิบดี Punsalmaagiin Ochirbat (นายพูซาลมากิน ออเชอรบัต) อย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2537 ล่าสุด นาย Tsakhia Elbegdorj
(ซักเคีย แอลเบดอร์จ)
นายกรัฐมนตรีมองโกเลียเยือนไทยอย่างเป็นทางการในลักษณะ Working Visit ระหว่างวันที่ 30 เมษายน- 3
พฤษภาคม 2548 และล่าสุด ดร.กันตธีร์ ศุภมงคล
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เยือนมองโกเลียระหว่างวันที่ 17-20 สิงหาคม 2549
3. ด้านการเมืองและความมั่นคง
ที่ผ่านมามีความร่วมมือกันไม่มากนักแต่ได้เริ่มขยายตัวเพิ่มขึ้นเมื่อ
มองโกเลีย ได้เข้าร่วมสังเกตการณ์ในการฝึกคอบร้าโกลด์เมื่อปี 2545 และในการฝึกครั้งล่าสุดซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13-27 พฤษภาคม 2547 มองโกเลียได้เข้าร่วมการฝึกด้วย
(เฉพาะด้านปัญหาที่บังคับการ)
4. ความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ
การค้าไทยและมองโกเลียยังมีการค้าระหว่างกันไม่มากนัก
อย่างไรก็ดี การค้ารวมไทย - มองโกเลียขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา จาก 2.25
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2549 เป็น 4.09
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ใน ปี 2550 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 85) และ 11.55 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2551 (เพิ่มขึ้นร้อยละ 182.60) อย่างไรก็ตาม
ไทยและมองโกเลียมีการค้าระหว่างกันในปี 2552 เพียง 3.01 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงปี 2551 คิดเป็นร้อยละ 73.04)
และไทยเสียเปรียบดุลการค้า รวม 1.88
ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งปัจจัยหลักน่าจะมาจากวิกฤติเศรษฐกิจและการเงินโลก ทั้งนี้
สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปมองโกเลีย ได้แก่ ตู้เย็น อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์
เครื่องสำอาง สบู่ ผลิตภัณฑ์พลาสติก สินค้านำเข้าสำคัญจากมองโกเลีย ได้แก่
ผลิตภัณฑ์โลหะ เสื้อผ้า
การลงทุน
ปัจจุบันยังไม่มีนักลงทุนของไทยเข้าไปลงทุนในมองโกเลียเนื่องจาก (1) เป็นตลาดขนาดเล็ก มีอำนาจซื้อต่ำ (2) มีข้อจำกัดทางภูมิศาสตร์ที่ไม่มีทางออกทางทะเล และอยู่ห่างไกลจากไทย (3)
มีข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจ การค้าและการตลาดที่จำกัด (4) ไม่มีเที่ยวบินตรงจากไทย อย่างไรก็ดี มองโกเลียมีสินแร่เป็นจำนวนมาก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ทองแดง เหล็ก ทองคำ และยูเรเนียม
จึงมีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นแหล่งวัตถุดิบสำหรับการผลิตให้แก่ไทย ทั้งนี้
รัฐบาลมองโกเลียได้ออกมาตรการต่าง ๆ เช่น การลดภาษีประกอบการ เพื่อจูงใจให้นักลงทุนต่างชาติเข้าไปลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ของ
มองโกเลียมากขึ้น
5. ความร่วมมือด้านวิชาการ
รัฐบาลไทยเริ่มให้ความร่วมมือทางวิชาการแก่มองโกเลียตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา
โดยรูปแบบการให้ความร่วมมือทางวิชาการจะเป็นการให้ทุนฝึกอบรม/ดูงานระยะสั้น
ในประเทศไทยในสาขาที่ไทยมีความชำนาญและมีประสบการณ์
และสอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของมองโกเลีย อาทิ
การสาธารณสุข การศึกษา การเกษตรการท่องเที่ยว การเงินและการคลัง ซึ่งในแต่ละปี
รัฐบาลมองโกเลียจะส่งคำขอรับความร่วมมือทางวิชาการในสาขาต่างๆ ให้ฝ่ายไทยพิจารณาตั้งแต่ปี 2536-2547
ไทยให้ความช่วยเหลือทางวิชาการแก่มองโกเลียรวมมูลค่า 45.31
ล้านบาท และในปี 2548 ได้ให้ความช่วยเหลือมูลค่า 0.69 ล้านบาทในระหว่างการเยือนไทยของนายกรัฐมนตรีมองโกเลียระหว่างวันที่ 30 เมษายน – 3 พฤษภาคม 2548
ฝ่ายไทยแสดงความยินดีให้ความช่วยเหลือมองโกเลียด้านการฝึกอบรมบุคลากรในสาขา
การจัดการการท่องเที่ยวและตำรวจท่องเที่ยว ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวโยธา
รวมทั้งพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
6. ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
เมื่อปี 2534 มองโกเลียประสบภัยจากพายุหิมะทำให้เกิดปัญหาทุพภิกขภัยในปี 2535 รัฐบาลไทยได้ให้ความช่วยเหลือด้านอาหารโดยได้บริจาคข้าวสารในวงเงิน 2 ล้านบาท ให้แก่มองโกเลีย (จำนวนประมาณ 230 ตัน)
โดยนายกรัฐมนตรี (นายชวน หลีกภัย) ได้ทำพิธีมอบความ
ช่วยเหลือระหว่างการเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีพูซาลมากิน ออเชอรบัต (Punsalmaagiin
Ochirbat) ระหว่างวันที่ 25-28 กุมภาพันธ์ 2537
เมื่อเดือนตุลาคม 2542 มองโกเลียประสบปัญหาความแห้งแล้งในฤดูร้อน และ
ต่อมาในฤดูหนาวก็ประสบความหนาวเย็นผิดปกติเป็นเวลาติดต่อกันหลายเดือน
สร้างความเสียหายแก่ปศุสัตว์และผู้ประกอบอาชีพการปศุสัตว์เป็นอย่างมาก
นับเป็นภัยพิบัติครั้งร้ายแรงที่สุดในรอบ 30 ปีของมองโกเลีย
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายสุรินทร์ พิศสุวรรณ)
ได้มอบความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมในนามรัฐบาลไทยแก่รัฐบาลมองโกเลียเป็น เงินจำนวน
10,000 ดอลลาร์สหรัฐ ผ่านนาง Nyam-Osor Tuya รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศมองโกเลียในระหว่างการเยือนประเทศไทย เมื่อวันที่
5 มิถุนายน 2543
ที่กระทรวงการต่างประเทศ
เมื่อประเทศไทยประสบธรณีพิบัติภัยเมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2547 รัฐบาลมองโกเลียได้มอบเงินช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ผู้ประสบภัยผ่านสถานเอกอัคร
ราชทูตมองโกเลียประจำประเทศไทย เป็นเงินจำนวน 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
สถานทีท่องเที่ยว
ทะเลสาบฮุฟสกุล (hovsgol Lake)
ทะเลสาบฮุฟสกุลอยู่ทางตอนเหนือของประเทศมองโกเลีย
ต้องเดินทางโดยรถจี๊ปจากเมืองอูลานบาตอร์เป็นเวลา 3 ถึง 4 วัน เพื่อจะมายังที่นี่
เมืองฮุฟสกุลนี้ได้ถูกเรียกว่าเป็นเมืองที่งดงามที่สุดของประเทศมองโกเลีย
ถึงสภาพภูมิอากาศจะมีฝนตกลงมาบ่อยแต่คุณก็ได้เห็นสายรุ้งที่งดงาม
ทุ่งหญ้าเขียวขจีและทะเลสาบใสๆทดแทน
สิ่งที่น่าสนใจของที่นี่คือ
- - ทะเลสาบแห่งนี้สวยงามกว้างและลึกมากซึ่งยาว 136 กิโลเมตร กว้าง 36.5 กิโลเมตรและลึกถึง
262 เมตร
- - น้ำใสมาก
เนื่องจากมีแม่น้ำไหลผ่านถึง 90 สาย
- - ปลาแซลมอนที่ใหญ่ที่สุดในโลกอาศัยอยู่ที่นี่
และสามารถตกปลาโดยใช้เหยื่อปลอมได้ด้วย
- - หากคุณชื่นชอบการว่ายน้ำ
คุณต้องประทับใจกับที่นี่แน่นอนเพราะน้ำเย็นสบายมาก
- - มีม้าให้ขี่เดินป่าหรือเดินไปตามแนวทะเลสาบ
- - มีตั้งแคมป์และย่างปลา
ที่คุณตกมาได้บนกองไฟค่าย
- - เยี่ยมชมฝูงวัวป่าและกวางเรนเดียในระยะไกลตามแนวชายแดนรัสเซีย
เหมือนอินเดียนแดงในอเมริกาเหนือ
เทือกเขา Khangai
เทือกเขาที่ทอดยาวจากทางชายแดนตะวันตกของมองโกเลีย
ขนานตามแนวด้านทิศเหนือของเทือกเขาอัลไต
ภูมิประเทศที่นี่น่าสนใจมากมีความหลากหลายที่อุดมไปด้วยพืชและสัตว์
สิ่งน่าสนใจของที่นี่ มีดังนี้
- น้ำตก
Orkhon Khurkhree
น้ำตกสูงประมาณ 25 เมตรหน้าจากผาหินบะซอล เป็นน้ำตกที่มีมุมมองที่สวยงามที่สุดหลังมีฝนตก น้ำมาจากแม่น้ำ Ulaan Orkhon และมีอากาศหนาวเย็น มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และยังเป็นแหล่งทำการประมง รายงานพบว่า มีปลาไหลยาวมากว่าหนึ่งเมตร ที่นี่ ทางมองโกเลียยังไม่อนุญาติให้ลงว่ายน้ำ
น้ำตกสูงประมาณ 25 เมตรหน้าจากผาหินบะซอล เป็นน้ำตกที่มีมุมมองที่สวยงามที่สุดหลังมีฝนตก น้ำมาจากแม่น้ำ Ulaan Orkhon และมีอากาศหนาวเย็น มีปลาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และยังเป็นแหล่งทำการประมง รายงานพบว่า มีปลาไหลยาวมากว่าหนึ่งเมตร ที่นี่ ทางมองโกเลียยังไม่อนุญาติให้ลงว่ายน้ำ
- น้ำแร่ Khyatruunii Rashaan
น้ำแร่จาก Khyatruunii Rashaan ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยรถยนต์ อยู่บนเนินภูเขามีไม้สนหินแกรนิตก้อนและทุ่งหญ้าบานอยู่โดยรอบ สถานที่แห่งนี้ทั้งน้ำแร่ร้อนและเย็นออกมาจากหินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน ที่นี่ตั้งอยู่ในวัดเล็ก ๆ ที่เรียบง่าย มีโรงอาบน้ำส่วนตัวขนาดเล็ก ผู้เข้าชมต้องนำอาหารและเครื่องใช้เข้าไปเอง ผู้ที่ตั้งใจจะพักค้างคืนในเต็นท์ ควรจะเตรียมอุปกรณ์ไว้สำหรับ หมาป่าร้องโหยหวน
น้ำแร่จาก Khyatruunii Rashaan ไม่สามารถเข้าถึงได้โดยรถยนต์ อยู่บนเนินภูเขามีไม้สนหินแกรนิตก้อนและทุ่งหญ้าบานอยู่โดยรอบ สถานที่แห่งนี้ทั้งน้ำแร่ร้อนและเย็นออกมาจากหินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูร้อน ที่นี่ตั้งอยู่ในวัดเล็ก ๆ ที่เรียบง่าย มีโรงอาบน้ำส่วนตัวขนาดเล็ก ผู้เข้าชมต้องนำอาหารและเครื่องใช้เข้าไปเอง ผู้ที่ตั้งใจจะพักค้างคืนในเต็นท์ ควรจะเตรียมอุปกรณ์ไว้สำหรับ หมาป่าร้องโหยหวน
- อุทยานแห่งชาติ Khustain Nuruu
อุทยานแห่งนี้เป็นเจ้าภาพจัดโครงการอนุรักษ์ม้าป่า สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากป่าในยุคทศวรรษที่หกของประเทศมองโกเลียที่ประสบความสำเร็จมากตั้งแต่ปี 1992 ในประวัติศาสตร์บริเวณนี้เคยเป็นพื้นที่สำหรับการล่าสัตว์ของเจงกีสข่าน นอกจากม้าแล้วยังมี กวาง เนื้อทรายและ หมาป่าใกล้กับแม่น้ำ ม้ามักออกมาในตอนเย็นมาดื่มน้ำ เหมาะสำหรับช่างภาพหากต้องการรูปสัตว์สวยๆ
อุทยานแห่งนี้เป็นเจ้าภาพจัดโครงการอนุรักษ์ม้าป่า สัตว์ที่สูญพันธุ์ไปจากป่าในยุคทศวรรษที่หกของประเทศมองโกเลียที่ประสบความสำเร็จมากตั้งแต่ปี 1992 ในประวัติศาสตร์บริเวณนี้เคยเป็นพื้นที่สำหรับการล่าสัตว์ของเจงกีสข่าน นอกจากม้าแล้วยังมี กวาง เนื้อทรายและ หมาป่าใกล้กับแม่น้ำ ม้ามักออกมาในตอนเย็นมาดื่มน้ำ เหมาะสำหรับช่างภาพหากต้องการรูปสัตว์สวยๆ
Khentii (บ้านเกิดของเจงกีสข่าน)
Khentii นี้เป็นดินแดนบ้านเกิดของเจงกีสข่านและมีสถานที่ทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่สำคัญมากมาย
Khan Khentii Mountain National Park เป็นหนึ่งในสมบัติล้ำค่าทางประวัติศาสตร์มองโกเลีย
โดยยูเนสโกประกาศให้ที่นี่เป็นสถานที่มรดกโลก
ดินแดนจะถูกปกคลุมไปด้วยพื้นที่ภูเขาเขียวชอุ่มซะส่วนใหญ่
สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวคือ
- - พื้นที่สีเขียวชอุ่มในช่วงฤดูร้อนที่เต็มไปด้วยดอกไม้หลากสีสัน
- - ใกล้กับเมืองอูลานบาตอร์
มีค่ายพักสุดหรูหลายค่าย
- - ที่ดีเยี่ยมสำหรับขี่ม้า
- - เป็นสถานที่เกิดและหลุมฝังศพเของ
เจงกีสข่าน
- - เหมาะสำหรับการดูนกและสัตว์
- - มีอุทยานแห่งชาติตั้งอยู่ที่นี่
เทือกเขาอัลไต (Altai Mountains)
อัลไตเป็นดินแดนภูเขาขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ในใจกลางของเอเชียในอาณาเขตของสี่รัฐคือ
รัสเซีย, มองโกเลีย, จีนและคาซัคสถาน
ดินแดนเต็มไปด้วยความลึกลับและตำนานเพลงพื้นเมืองและนิทาน
ที่นี่มีธรรมชาติที่สงบเงียบและมีสิ่งมหัศจรรย์ให้นักท่องเที่ยวที่ได้ซึมซับกับความสวยงามของหินภูเขาอันงดงาม
ป่าสน ทุ่งหญ้าและทะเลสาบ และที่เต็มไปด้วยแก่งและน้ำตก
สิ่งที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวคือ
- - ภูเขาที่แห้งแล้งมากที่สุดของประเทศมองโกเลีย
- - ทะเลสาบขนาดใหญ่และใหญ่ที่สุดในประเทศมองโกเลีย
- - เหมาะสำหรับการเดินป่าและปีนเขา
- - ชาวบ้านยังคงล่าสัตว์โดยใช้นกอินทรีและเหยี่ยว
- - แหล่งกำเนิดของเพลง
“khoomi”
ทะเลทรายโกบี (Gobi Desert)
ตั้งอยู่ทางภาคใต้ของมองโกเลียและตอนเหนือของจีน
ทะเลทรายโกบีเป็นสถานที่อันยิ่งใหญ่ที่ครั้งหนึ่งเคยเต็มไปด้วยไดโนเสาร์ “โกบี” หมายถึงแผ่นดินที่แห้งแล้ง
ที่นี่จะหลากหลายไปด้วยสิ่งมีชีวิตนานาชนิดไม่ว่าจะเป็นหมาป่า อูฐ หรือ นกต่างๆ
ในเวลากลางคืนอากาศของที่นี่จะหนาวมากและร้อนในวันที่มีแดดจัด
สิ่งที่คุณจะได้สัมผัสเมื่อมาที่ทะเลทรายโกบี
- - ความเงียบสงบใกล้ชิดธรรมชาติ
- - ฝูงอูฐ
ฝูงละมั่ง หมีโกบี
- - โอเอซิสที่เป็นแหล่งปลูกมะเขือเทศและแตงโม
- - พื้นที่ที่มีเนินทรายสวยงาม
- - หุบเขาที่มีหิมะและน้ำแข็งแม้ในฤดูร้อน
- - พระอาทิตย์ขึ้นและพระอาทิตย์ตก
นอนชมดาวตอนกลางคืน
ควรไปช่วงไหนดี
ช่วงระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน
สภาพอากาศมองโกเลียจะเย็นในช่วงฤดูหนาว
และฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วงจะได้สัมผัสลมแรงๆถึง 140 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
ที่พัก
คุณจะพบหลายสิบค่ายร็อคกี้กระจายอยู่ทั่วทะเลทรายโกบี
ซึ่งแต่ละที่ก็จะคล้ายๆกัน
จักรพรรดิ์เจงกิสข่าน เกิดเมื่อปี คศ.
1167 แต่ตามประวัติศาสตร์ของ มองโกล จะระบุว่าเขาเกิดในปี ค.ศ.1162
อย่างไรก็ตามประวัติของ เจงกิสข่าน
ก่อนเป็นจักรพรรดิ์ที่ยิ่งใหญ่พบได้น้อยมากชื่อเดิมของท่านคือ เทมูจิน ( Temujin ) จนมาถึงช่วงที่อายุ 9 ขวบก็พอจะทราบได้ว่า
บิดาของท่านได้เสียชีวิตลง(ด้วยเหตุอันใดยังไม่ทราบแน่ชัด)
หลังจากนั้นมารดาของท่านก็นำครอบครัวที่เหลือไปใช้ชีวิตอยู่บริเวณทะเลทรายของมองโกเลีย
เอาตัวรอดอยู่ด้วยธัญญาหารต่างๆ ระหว่างนั้นมาราดาของเจงกิสข่าน
ได้สอนวิธีการยังชีพในสภาพแวดล้อมที่กันดารเช่นนั้นให้ท่านด้วย
มหาจักรพรรดิชาวมองโกเลีย
เจงกิสข่าน
จักรพรรดิ์เจงกิสข่าน เกิดเมื่อปี คศ. 1167 แต่ตามประวัติศาสตร์ของ
มองโกล จะระบุว่าเขาเกิดในปี ค.ศ.1162 อย่างไรก็ตามประวัติของ เจงกิสข่าน
ก่อนเป็นจักรพรรดิ์ที่ยิ่งใหญ่พบได้น้อยมากชื่อเดิมของท่านคือ เทมูจิน ( Temujin ) จนมาถึงช่วงที่อายุ 9 ขวบก็พอจะทราบได้ว่า
บิดาของท่านได้เสียชีวิตลง(ด้วยเหตุอันใดยังไม่ทราบแน่ชัด)
หลังจากนั้นมารดาของท่านก็นำครอบครัวที่เหลือไปใช้ชีวิตอยู่บริเวณทะเลทรายของมองโกเลีย
เอาตัวรอดอยู่ด้วยธัญญาหารต่างๆ ระหว่างนั้นมาราดาของเจงกิสข่าน
ได้สอนวิธีการยังชีพในสภาพแวดล้อมที่กันดารเช่นนั้นให้ท่านด้วย
วีรกรรมยิ่งใหญ่
หากพิจารณาตามพื้นเพเดิมแล้ว เจงกิสข่านเป็นเพียงหัวหน้าเผ่ามองโกลเร่ร่อนเผ่าเล็กๆ เท่านั้น อาศัยอยู่ในเต็นท์ ไม่มีบ้านเมืองของตนเอง
แต่สามารถปราบปรามจักรวรรดิต่างๆได้ราบคาบอย่างง่ายดาย
ถือเป็นวีรกรรมที่ควรจะยกย่อง วีรกรรมที่จัดว่ายิ่งใหญ่นั้นได้แก่
การบุกตะลุยเข้าตีเมืองซามาร์คาน จนแตกกระเจิงโดยใช้เวลาไม่มากนัก ซามาร์คาน เป็นนครหลวงระดับ มหานครของจักรพรรดิ
ชาห์ มูฮัมหมัด แห่งมหาจักรวรรดิ "ควาริตซึ่ม"
ซามาร์คานต้องเรียกว่ามหานคร เพราะมีพลเมืองถึง 200,000คน ภายในกำแพงเมือง จักรวรรดิ "ควาริตซึ่ม"
ต้องเรียกมหาจักรวรรดิ เพราะครอบคลุมประเทศใหญ่ๆ ในปัจจุบันไว้ร่วมสิบประเทศ รวมทั้งอัฟกานิสถานและอิหร่าน พรมแดนด้านตะวันตก จดทะเลสาบแคสเปียน
ด้านใต้จดมหาสมุทรอินเดียภายในมหานครซามาร์คาน มีทหารประจำการพร้อมรบอยู่ถึง
110,000 คน เจงกิสข่านเคลื่อนพล 8 หมื่น ส่วนมากเป็น กองม้าบุกเข้าตีจนแตกพ่าย เมื่อยึดซามาร์คาน
ได้ก็มีการสั่งเผาเมืองทั้งเมือง และไล่ฆ่าผู้คนตายนับแสน เหลือไว้เฉพาะช่างฝีมือ
และผู้มีความรู้เพียง 30,000 คน
และส่งคนเหล่านี้ไปมองโกเลีย เพื่อเป็นทรัพยากรบุคคลของชาติต่อไป
อาณาจักรของมองโกลล์
ในยุค ของ เจงกิสข่าน
เจงกิสข่านเกือบครองโลก
นักประวัติศาสตร์ให้ความเห็นตรงกันว่า
หากรุกไปถึงชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกได้เมื่อไหร่ เจงกิสข่าน จะได้ ชื่อว่าเป็น
มหาจักรพรรดิองค์แรก และองค์เดียวที่ครองโลกได้
โลกในยุคนั้นมีแค่จากฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิก แถวเมืองจีนไล่ไปถึงฝั่ง
มหาสมุทรแอตแลนติก เท่านั้น เพราะเป็นเขตที่มีการตั้งอาณาจักร
มีวัฒนธรรมกันกองทัพเจงกิสข่านตะลุยยึดได้รัสเซียกว่าค่อนประเทศ
บุกถึงยุโรปกลางและเยอรมันเตรียมบุกยึดเกาะอังกฤษอยู่แล้ว
แต่เปลี่ยนใจเดินทางกลับบ้านเมืองเสียก่อน นักประวัติศาสตร์วิเคราะห์ว่า
หากเดินทัพต่อไปจริงๆ ก็คงยึดได้ไม่ยากกองทัพประหลาด
และกลยุทธ์ผ่าเหล่าเจงกิสข่านจัดรูปแบบ กระบวนทัพแบบที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน
เดินทัพไปเลี้ยงสัตว์พวกวัวควาย และแพะ ตลอดจน ม้าศึกไปด้วย เมื่อสั่งบุกโจมตี
ก็สามารถรวมพลได้เร็วและสามารถเข้าตีได้อย่างสายฟ้าแลบกำลังหลักของเจงกิสข่านจะมีประมาณ
100,000 คน แบ่งออกเป็นสิบ "ทูเมน"
หรือกองพลมีกําลังรบ 10,000 นาย
แต่ละกองพลจะมีผู้ติดตามทหารอีก นายละ 4 คน โดยเฉลี่ย
ดังนั้น ในแต่ละกองพลจะมีผู้คนติดตาม ขบวนทหารอีกประมาณ 4
หมื่นคนเมื่อเข้าตี ขบวนครอบครัวผู้ติดตามทหารมา
จะต้องถอยห่างออกไปทางด้านหลังแนวรบ หน่วยรบจะได้รับการฝึกปรือเพลงอาวุธ ทุกประเภทอย่างเจนจบ ศึกษายุทธศาสตร์ต่างๆจากหลายชาติ เช่น เปอร์เซีย อาหรับ
และจีนในการเดินทัพ "ทูเมน" หรือกองพลต่างๆ จะจัดกระบวนทัพ
เป็นแนวหน้ากระดานกว้าง 50 ไมล์ โดยมีทัพหลวงอยู่ตรงกลาง
เจงกิสข่านพร้อมกับพระมเหสีและพระสนมจะประทับอยู่ในเต็นท์เดียวกัน เป็นเต็นท์ขนาดใหญ่ติดล้อเพื่อให้เคลื่อนที่ได้ในตอนกลางวันเต็นท์หลวง
จะทําหน้าที่เป็นที่ออกขุนนาง และรับราชทูตส่วนกลางคืนใช้เป็นที่ประทับ
ซึ่งประทับในเต็นท์เดียวกันหมด ทั้งพระมเหสี พระสนม พระโอรสและธิดา
เต็นท์ถัดไปข้างหลัง จะเป็นของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งจะเคลื่อนไปข้างหน้า
ตามลําดับความสําคัญของฐานานุรูป โดยใช้วัวนับสิบตัวลากในขบวนทัพจะมีม้าสํารอง ไว้คอยเปลี่ยนเป็นจํานวนมาก นอกจากนั้นยังมีฝูงแกะแพะติดตาม ไปด้วยทุกกองพล เพื่อใช้เป็นแหล่งเสบียง เนื่องจากชาวมองโกลนิยม ดื่มนมสัตว์เป็นอาหารหลัก และยังได้เนื้อเป็นอาหารอีกด้วยการเคลื่อนทัพไปในยามปรกต ใช้ความเร็วตํ่ามากเพียง 5
ไมล์ต่อวันเท่านั้นและจะมีการหยุดพักการเดินทาง วันละ 4
ครั้ง เพื่อรีดนมสัตว์เป็นอาหาร เมื่อจะเข้าทําการโจมตี กองพลทั้งสิบจะเข้ารวมตัว
กับทัพหลวงอย่างรวดเร็วแล้วพุ่งไปข้างหน้าราวสายฟ้าแลบจะเห็นได้ว่า เจงกิสข่าน
ตะลุยไปแล้วทั่วโลก บุกเกาหลี ข้ามทะเลไปตีถึงญี่ปุ่น ลุยมาถึงฮานอย ในอดีต และเหยียบไปถึงเมืองพุกามในพม่า นอกจากมีความสามารถ ในการรบอย่างสุดยอดแล้ว
ยังได้ชื่อว่าเป็นผู้มีคุณธรรม เนื่องจากให้เสรีใน การนับถือแก่ ทุกศาสนาในโลก โดยไม่กดขี่หรือกีดกันเจงกิสข่านพิสูจน์ตัวเองแล้วว่า
ไม่ใช่คนเถื่อน เพราะยังมีใจรักอารยธรรมและวัฒนธรรม แม้จะนิยมการเผาบ้านเมือง
และถาวรวัตถุของศัตรู แต่ก็เป็นไปด้วยเหตุผล ทางยุทธศาสตร์ประการเดียว
และยังมีการไว้ชีวิต ช่างฝีมือ และผู้มีความรู้ด้านศิลปวิทยาการต่างๆ
และส่งกลับมองโกเลีย ด้วยหวังว่าจะได้สอน ชาวมองโกเลียให้มีความก้าวหน้าในศิลปวิทยาการต่างๆ บ้างแต่เหนือสิ่งอื่นใด การที่เจงกิสข่านสามารถ
ตะลุยปราบหัวเมืองต่างๆ ไปได้เกือบทั่วโลกโดยไม่มีใครต้าน พลานุภาพได้
และไม่มีใครทําได้สําเร็จเช่นนี้ตลอดช่วงสหัสวรรษเดียวกันนี้
ก็พอเพียงที่จะได้รับการยกย่อง แล้วว่า เป็นมหาบุรุษได้อย่างไม่มีข้อกังขา.
สืบค้น : เรื่องประเทศมองโกเลีย(ออนไลน์) เข้าถึงได้จากhttp://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/ww523/aroonsak/aroonsak-web2/easia/monkolia.htm
www.topasiantravel.com/ข้อมูลทั่วไปประเทศยมองโกเลีย/สถานที่ท่องเที่ยวในประเทศมองโกเลีย.html
สืบค้นวันที่ 25 สิงหาคม 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น