วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้ามาของสเปนในไทย



มีหลักฐานจากการค้นคว้าของฝ่ายสเปนว่าเมื่อปี ค.ศ. 1540 ( พ.ศ. 2083 ) นาย Pero Diaz เป็นชาวสเปนคนแรกที่เดินทางมาไทย โดยขึ้นฝั่งที่จังหวัดปัตตานี เมืองขึ้นของอยุธยา ในสมัยพระไชยราชาธิราช นับเป็นชาวยุโรปชาติที่ 2 ที่เดินทางมาไทยในสมัยนั้น ต่อจากชาวโปรตุเกสซึ่งเดินทางมาไทยในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 เมื่อราวปี พ.ศ. 2061 ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชา ในปี พ.ศ. 2129 นาย Santiago de Vera ข้าหลวงสเปนที่ปกครองฟิลิปปินส์ได้ส่งคณะผู้แทนเดินทางมาเปิดความสัมพันธ์ กับอยุธยา ซึ่งกษัตริย์ไทยให้ความสนใจ แต่ก็มิได้ดำเนินการอย่างไรต่อไป
 ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ไทยกับสเปน ได้ติดต่อค้าขายกันโดยผ่านทางฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นอาณานิคมของสเปนโดยไทยส่งออกไม้และตะกั่ว ที่จำเป็นสำหรับการต่อเรือให้สเปนและซื้อสินค้าประเภทอาวุธจากสเปนแต่ความ สัมพันธ์ทางการค้าและอื่นๆไม่ค่อยก้าวหน้าเท่าไรนัก  เนื่องจากสเปนมีคู่แข่งคือโปรตุเกส ซึ่งวางรากฐานทางการค้าไว้อย่างมั่นคงแล้ว ในขณะที่การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของสเปนก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะกษัตริย์ไทยและชาวไทยไม่ได้ให้ความสนใจแต่อย่างใด
 หลังจากรัชสมัยพระนารายณ์ ช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา กษัตริย์ไทยรัชกาลต่อๆมา ไม่โปรดปรานชาวตะวันตก เพราะเกรงว่าจะเข้ามายึดครองไทยและครอบงำทางศาสนา จึงขับไล่ทั้งฝรั่งเศส โปรตุเกส ฮอลันดา และสเปนออกไปจากประเทศเป็นจำนวนมาก
 ชาวยุโรปเริ่มเข้ามาเมืองไทยอีกครั้งตั้งแต่รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรัชกาลที่ 4 ถือเป็นยุคสำคัญของการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างระหว่างไทยกับประเทศตะวันตกซึ่ง กำลังล่าเมืองขึ้นในเอเชียอย่างขะมักเขม้น
สเปนและไทยได้ทำสนธิสัญญาทางไมตรีการพาณิชย์ และการเดินเรือ ซึ่งถือเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2413 ( ค.ศ. 1870 ) ในรัชกาลที่ 5 ช้ากว่าที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกอื่นๆกว่า 10 ปี   ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2426 ไทยได้ตั้งอัครราชทูตประจำยุโรปให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตไทยประจำกรุงมาดริด ด้วย และในปี พ.ศ. 2504 ได้ยกระดับเป็นสถานเอกอัครราชทูตโดยได้ตั้งเอกอัครราชทูตไทยคนแรกไปประจำ กรุงมาดริดเมื่อ พ.ศ. 2506
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ชุมสายอัครราชทูตประจำกรุงลอนดอนดำรงตำแหน่งอัครราชทูตไทยประจำกรุงมาดริดเป็นคนแรก และทั้งสองฝ่ายได้ยกฐานะสถานอัครราชทูตขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูตฯ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2504 (ค.ศ. 1961) ไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงมาดริด เมื่อปี 2506 (ค.ศ. 1963) และแต่งตั้งนายมนู อมาตยกุล ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริดคนแรกเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสเปนนางอัจฉรา เสริบุตร
เอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย H.E. Juan Manuel Lopez Nadal
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำนครบาร์เซโลน Mr. Jaime Sabate Herce
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำ Santa Cruz de Tenerife Mr. Wolfgang Kiessling(หมู่เกาะคะเนรี)
หมายเหตุ : * สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมาดริด มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศตูนิเซีย
* สถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา
 นอกจากสถานเอกอัครราชทูตแล้ว ที่กรุงมาดริด ไทยยังมีสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและทหารเรือ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และสำนักงานการบินไทย นอกจากนี้ มีสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยอีก 2 แห่ง ที่นครบาร์เซโลน่า และที่หมู่เกาะคานารี

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ (ข้อมูลปี ๒๕๕๔)
สเปนเป็นคู่ค้าอันดับที่ 25 ของไทย และเป็นลำดับที่ 7 ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (European Union - EU) ในปี 2555 มูลค่าการค้ารวมระหว่างกัน 1,437.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 807 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 630.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 176.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม ยางพารา เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ กุ้งสดแช่เย็น และแช่แข็ง
สินค้านำเข้าจากสเปน ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรม และเภสัชกรรม เหล็ก เหล็กกล้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนตื ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์โลหะพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช   

ปัญหาและอุปสรรคด้านการค้า
1) สเปนเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ทำให้ปัญหาการค้าทวิภาคีไทย-สหภาพ ยุโรป กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการค้าระหว่างไทยและสเปนด้วย
2) สเปนตรวจพบสารแคดเมี่ยมในปลาหมึกในน้ำมันและปลาหมึกแช่แข็ง เชื้อ salmonella ในปลาหมึกแช่แข็ง เชื้อแบคทีเรียในปลา Hake เชื้อ vibrio Chelerae ในกุ้งกุลาดำ สาร 3MCPD ในซอสปรุงรส เชื้อ Aerbio Mesofilos ในปลาหมึกแช่แข็ง และเพลี้ยไฟในดอกกล้วยไม้ นำเข้าจากไทย จึงได้ใช้มาตรการกักกันสินค้าที่มีปัญหาเพื่อนำตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์ก่อน (automatic detention) หากตรวจไม่พบเชื้อโรคจะอนุญาตให้นำเข้าได้ การยกเลิกมาตรการดังกล่าวอยู่ในดุลพินิจของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบ

ความสัมพันธ์ด้านการลงทุน
ในปี 2555 มีโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 2 โครงการ มูลค่ารวม 1,540 ล้านบาท ซึ่งเป็นอันดับที่ 7 ในยุโรป 

ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว
ในปี 2555 มีจำนวนนักท่องเที่ยวสเปนเดินทางมาประเทศไทย จำนวน 113,270 คน



สืบค้น : เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอาณาจักรสเปน (ออนไลน์)เข้าถึงได้จากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=ibmgang&date=12-08-2008&group=4&gblog=5
http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/content/view/698/32/  สืบคืนวันที่ 1 กันยายน 2556

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น