พิพิธภัณฑ์พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
|
"หญิงไทยในยุคเปลี่ยนผ่านสู่ปัจจุบัน"
ที่จัดขึ้นเพื่อฉลองครบรอบวันอภิเษกสมรสครบ 95 ปีของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว
และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี
ที่ทั้งสองพระองค์ทรงได้รับการยกย่องพระเกียรติในเรื่องของ
"สังคมผัวเดียวเมียเดียว" ในแบบสังคมตะวันตก
จนส่งผลให้สมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทรงเป็นแบบอย่างของกุลสตรีไทย
ที่ทรงดำรงพระองค์ด้วยพระราชหฤทัยมั่นคง
ผูกพันจงรักภักดีในพระราชสวามีสืบมาตลอดพระชนม์ชีพ หลังจากรัชกาลที่ 7 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2484
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี |
นักศึกษาเอกสังคมศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม |
เริ่มจาก น.ส.วิกัลย์ ที่สะท้อนบทบาทโดดเด่นของผู้หญิงในช่วงหลังเสียกรุงจนถึงสงครามโลกครั้งที่
2 (2310-2488) โดยเฉพาะรัชสมัย ร.6-ร.7
อย่างการได้รับการศึกษาและความรู้ด้านการพยาบาล
ที่สื่อว่าบทบาทของผู้หญิงไม่ได้จำกัดอยู่เพียงแค่งานครัวเท่านั้น
"ปัจจัยเรื่องของเศรษฐกิจในช่วงสมัยรัชกาลที่ 3 ที่เริ่มมีการทำการค้ากับชาวตะวันตก
เป็นสิ่งที่กระตุ้นให้ผู้หญิงไทยต้องเปลี่ยนหน้าที่มาทำการค้าขายมากกว่าการทำงานบ้าน อย่างการปักผ้าทอผ้า เรื่อยมาจนถึงรัชกาล 4 ส่วนรัชกาลที่ 5
ถือเป็นจุดเปลี่ยนของหญิงไทยครั้งสำคัญ
เพราะไม่เพียงแค่ประเทศสยามจะรับวัฒนธรรมการแต่งกายจากตะวันตก แต่ผู้หญิงไทยเริ่มได้รับการศึกษามากขึ้น
เช่น มีการตั้ง รร.กุลสตรีวังหลัง ซึ่ง รร.สำหรับผู้หญิงที่เด่นชัดที่สุดนั้น คือ
รร.หญิงแพทย์ผดุงครรภ์แลการพยาบาลไข้
ที่ก่อตั้งโดยสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง(พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี) จวบจนกระทั่งถึงรัชกาลที่
6 ที่เริ่มตระหนักสิทธิของผู้หญิงมากขึ้น โดยกฎมณเฑียรบาลระบุว่า การแต่งงานระหว่างชายหญิงนั้นจะต้องมีการจดทะเบียนสมรสและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณพระบรมราชินี ถือเป็นคู่อภิเษกคู่แรกที่ทรงจดทะเบียนสมรสรวมถึงการตั้งสภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม
สภากาชาดไทย
ที่เน้นให้ผู้หญิงมีบทบาทในการทำงานนอกบ้านเพื่อช่วยเหลือสังคมมากขึ้นเช่นกัน"
ส่วนพิมพ์ฤทัย
ชูแสงศรี ผู้คร่ำหวอดในแวดวงนิตยสารมากว่า 30 ปี
ได้สะท้อนภาพการเปลี่ยนแปลงของผู้หญิงผ่านรูปแบบของแมกกาซีน
เพื่อให้เห็นภาพหญิงไทยที่เป็นตัวของตัวเองเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันว่า
จากประสบการณ์ด้านสื่อมวลชนมากว่า 30 ปีนั้น
มองว่านิตยสารเป็นอะไรที่สื่อบทบาทของผู้หญิงไทยได้เห็นชัดเจนที่สุด โดยเฉพาะหนังสือพิมพ์สำหรับผู้หญิงที่บูมสุดๆ ในช่วงรัชกาลที่ 6-7 ที่รู้จักกันดีว่า "หญิงไทย"
ซึ่งไม่เพียงรวบรวมไว้ซึ่งคอลัมน์สำหรับผู้หญิง
แต่เนื้อหาภายในยังสะท้อนถึงความขัดแย้งถกเถียงถึงสถานภาพของผู้หญิงเช่นกัน
จึงตอบโจทย์ผู้หญิงได้ดี
ซึ่งทำให้ตระหนักว่าผู้หญิงเริ่มตื่นตัวและหันมาสนใจในสิทธิของตัวเอง
มากกว่าที่จะสนใจเพียงเนื้อหาทั่วๆ
ไปของนิตยสารที่ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของหนังสืออ่านเล่นในบ้านเราอย่าง
"นารีรมย์" และ "กุลสตรี"ขณะที่
"คอลัมน์ตอบปัญหารักอย่าง "ศิราณี"
ในหนังสือพิมพ์ไทยรัฐและขวัญเรือน ในช่วงปี พ.ศ. 2500-2516
นั้น
ก็เป็นกระจกสะท้อนสำคัญว่า
ผู้หญิงไทยเข้มแข็งและกล้าที่จะออกมาทำงานนอกบ้านมากขึ้น
จึงไม่แปลกที่ผู้หญิงจะพบกับปัญหาหัวใจ ความรัก ชีวิตคู่ หรือแม้แต่ปัญหาการเลี้ยงลูกบุตร
จนต้องพึ่งพาคอลัมน์ตอบปัญหาในช่วงที่เศรษฐกิจเริ่มเฟื่องฟูนั่นเอง
แหล่งที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์.หญิงไทยยุคเปลี่ยนผ่าน(ออนไลน์)
เข้าถึงได้จาก http://www.ryt9.com/s/tpd/1723951 วันที่สืบค้น : 1 กันยายน 2556
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น