วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีแห่นาคโหดแห่งเดียวในโลก

          
             สำหรับ ประเพณีแห่นาคโหด ที่บ้านโนนเสลานี้ อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ถือเป็นประเพณีโบราณที่ปฏิบัติสืบทอดต่อกันมาหลายร้อยปี โดยชาวบ้านจะร่วมกันจัดงานอุปสมบทหมู่ให้กับคนหนุ่มหรือบุตรหลานในหมู่บ้านที่มีอายุครบ 20 ปี เพื่อให้ลูกหลานได้บวชแทนคุณบิดามารดา ด้วยความตั้งใจที่จะบวชเอง ซึ่งจะมีการเตรียมตัวมาตั้งแต่เดือนสี่ โดยผู้เป็นบิดาจะพาบุตรชายไปฝากไว้กับเจ้าอาวาส ใน 2 วัดของหมู่บ้านโนนเสลา คือวัดบุญถนอมพัฒนาราม (วัดนอก) และวัดตาแขก (วัดใน) เพื่อถือขัน 5 ประกอบด้วย เทียน 5 คู่ ดอกไม้ 5 คู่ ไปฝากตัวเป็นนาคปฏิบัติธรรมถือศีล 8 อยู่ที่วัด เรียนรู้บทสวดที่จะบวช และเรียนรู้พระธรรมวินัยเบื้องต้น ก่อนถึงกำหนดวันบวชของประเพณีงานบุญเดือนหก
         ส่วนในวันแห่นาคโหด จะใช้คนหนุ่มที่ยังไม่ได้บวชของแต่ละหมู่บ้าน มาช่วยกันหามแคร่ไม้ไผ่ แห่นาคไปรอบหมู่บ้าน และเขย่าโยนนาคอย่างรุนแรง ถือเป็นการทดสอบความตั้งใจว่า ผู้บวชจะมีความมุ่งมั่นอดทนที่จะบวชแทนคุณบิดามารดาหรือไม่ โดยผู้บวชจะต้องประคองตัวเองไม่ให้ตกลงมาจากแคร่ หากใครตกลงมาถูกพื้นดินจะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่ให้บวช โดยจะเป็นเช่นนี้ตลอดระยะทางที่แห่รอบหมู่บ้านกว่า 3 กิโลเมตร ซึ่งตั้งแต่มีการปฏิบัติสืบทอดกันมาใน พ.ศ. 2514 จนถึงปัจจุบัน ยังไม่มีผู้ใดตกลงมาถูกดินเลยสัก ราย ถึงแม้จะได้รับบาดเจ็บรุนแรงที่สุด คือ ศีษะแตกและแขนหลุดก็ตาม 
           ด้านนายทวีพล  ปัญญาวัฒนานนท์  นายอำเภอภูเขียว เปิดเผยว่า การส่งเสริมอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามแห่นาคโหด โดยทางอำเภอ และ อบต.ตั้งงบประมาณไว้ส่งเสริมอย่างต่อเนื่องอย่างเต็มที่ทุกปี ซึ่งถือว่าเป็นประเพณีเก่าแก่แต่โบราณของคนที่นี่ และถือว่าจะเป็นจุดส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวของจังหวัดชัยภูมิ ที่มีแห่งเดียวในโลกก็ว่าได้  ซึ่งเรามีหน้าที่บำรุงพระพุทธศาสนา และการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ทั้งหมดช่วยกันเตรียมงานมาต่อเนื่องนับเดือนเป็นประจำทุกปี เพื่อให้ลูกหลานคนในชุมชนได้ปฏิบัติตนในสิ่งที่ดีงามก่อนเข้าวัด และการแห่นาคโหดที่ชาวบ้านจะพากันเขย่าหามนาคอย่างแรงนั้น เพื่อที่จะทำให้นาคนึกถึงความอดทน เข้มแข็ง ก่อนจะเข้าอุปสมบทเพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนาต่อไป









แหล่งที่มา : _____. ประเพณีแห่นาคโหดแห่งเดียวในโลก: เดลินิวส์. 20พ.ค.56





วันอาทิตย์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2556

การเขียนรายงานและบรรณานุกรมที่ดี


       การเขียนรายงาน 
                   คือ  การเขียนรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลในหน่วยงาน  ซึ่งรายงานแต่ละประเภทนั้น  ก็จะมีวิธีการเขียนที่แตกต่างกันออกไป  รายงานจึงเป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงาน  และการที่จะเสนอการเขียนรายงานนั้นให้ออกมาอย่างมีประสิทธิภาพ  สามารถผลิตออกมาได้อย่างรวดเร็วนั้น  ควรที่จะมีการวางแผนกำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของแต่ละรายงานไว้ด้วย

1.  ความหมายและความสำคัญของรายงาน
    รายงาน  คือ  การเสนอรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับการดำเนินงานของบุคคลของหน่วยงาน  เป็นสิ่งจำเป็นและสำคัญในการบริหารงานทั้งในหน่วยงานราชการและธุรกิจเอกชน  เพราะรายงานจะบรรจุข้อมูลพื้นฐานที่ช่วยให้บุคลากรของหน่วยงานทราบนโยบาย  เป้าหมาย  ผลการปฏิบัติงาน  ปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ในการดำเนินงาน  ซึ่งการทำรายงานมีจุดมุ่งหมายคือ
    1.1  เพื่อฝึกฝนให้นักศึกษามีนิสัยรักการเขียน
    1.2  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ ความคิดริเริ่ม รู้จักแสดงความคิดอย่างมีเหตุผล
    1.3  เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาได้มีโอกาสศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
    1.4  เพื่อฝึกให้มีความรู้ความสามารถในการวิเคราะห์เรื่องราวต่าง ๆ อย่างถูกต้อง
    1.5  เพื่อส่งเสริมและฝึกทักษะทางภาษา
    1.6  เพื่อปูพื้นฐานการศึกษาค้นคว้าและการเขียนรายงานสำหรับการศึกษาในขั้นสูงขึ้น

2.  ประเภทของรายงาน
    2.1  รายงานธรรมดา  หรือรายงานทั่วไป  เป็นรายงานข้อเท็จจริงหรือข้อคิดเห็นของบุคคลเกี่ยวกับเหตุการณ์ความเคลื่อนไหวของบุคคลสำคัญ หรือสถานการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง
    2.2  รายงานทางวิชาการ  เป็นรายงานที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าวิจัย  และมีลักษณะเป็นวิทยาศาสตร์
            2.2.1  ภาคนิพนธ์หรือรายงานประจำภาค  เป็นรายงานที่เรียบเรียงและรวบรวมจากการศึกษาค้นคว้าเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ
            2.2.2  วิทยานิพนธ์  เป็นรายงานที่เรียบเรียงจากการศึกษาค้นคว้าวิจัยข้อเท็จจริงอย่างละเอียดลึกซึ้งรอบคอบตามลำดับขั้นตอนของการวิจัย
    ส่วนประกอบของการเขียนรายงาน
    -  หน้าปก  อาจเป็นกระดาษแข็งสีต่าง ๆ
    -  หน้าชื่อเรื่อง  ควรเขียนด้วยตัวบรรจงชัดเจนถูกต้อง เว้นระยะริมกระดาษด้านซ้ายและขวามือให้เท่ากัน
    -  คำนำ  ให้เขียนถึงมูลเหตุจูงใจที่เขียนเรื่องนั้นขึ้น  แล้วจึงบอกความมุ่งหมายและขอบเขตของเนื้อเรื่องในย่อหน้าที่สอง ส่วนย่อหน้าสุดท้ายให้กล่าวคำขอบคุณผู้ที่มีส่วนช่วยเหลือในการจัดทำการค้นคว้านั้นจนเป็นผลสำเร็จ
    -  สารบัญ  หมายถึง  บัญชีบอกบท
    -  สารบัญตาราง  ให้เปลี่ยนคำว่า "บทที่"  มาเป็น "ตารางที่"
    -  สารบัญภาพประกอบ  เพื่อเสริมคำอธิบายเนื้อเรื่องให้เข้าใจง่ายและสมบูรณ์มากขึ้น
    -  ส่วนที่เป็นเนื้อเรื่อง  ต้องลำดับความสำคัญของโครงเรื่องที่วางไว้ ถ้าเป็นรายงานขนาดยาวควรแบ่งเป็นบท
    -  อัญประกาศ  เป็นส่วนประกอบเนื้อเรื่องให้มีน้ำหนักน่าเชื่อถือ  โดยนำข้อความที่ตัดมาจากคำพูดหรือข้อเขียนของคนอื่นมาเขียนไว้ในรายงานของตน
    -  เชิงอรรถ  คือ  ข้อความที่ลงไว้ตรงท้ายสุดของหน้า เพื่อบอกที่มาของข้อความที่ยกมาหรืออธิบายคำ
    -  ตารางภาพประกอบ  ให้แสดงไว้ในส่วนของเนื้อเรื่องด้วย
    -  บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือ  สิ่งพิมพ์และวัสดุอ้างอิงทุกประเภทที่ผู้ทำรายงานใช้ประกอบการเรียนและการค้นคว้า
    -  ภาคผนวก  คือ  ข้อความที่นำมาเพิ่มเติมในตอนท้ายของรายงาน  เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้อ่านเข้าใจยิ่งขึ้น

    -  ดรรชนี  คือ  หัวข้อย่อย  หรือบัญชีคำที่นำมาจากเนื้อเรื่องในหนังสือ  โดยจัดเรียงลำดับตั้งแต่ตัว ก-ฮ และบอกเลขหน้าที่คำนั้นปรากฏอยู่ในเรื่อง ดรรชนีจะช่วยผู้อ่านในกรณีที่ต้องการค้นหาคำหรือหัวข้อย่อย ๆ ได้อย่างรวดเร็ว

3.  การเขียนรายงาน
    1.  ควรเขียนให้สั้นเอาแต่ข้อความที่จำเป็น
    2.  ใจความสำคัญควรครบถ้วนเสมอว่า ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร
    3.  ควรเขียนแยกเรื่องราวออกเป็นประเด็น ๆ
    4.  เนื้อความที่เขียนต้องลำดับไม่สับสน
    5.  ข้อมูล  ตัวเลข  หรือสถิติต่าง ๆ ควรได้มากจากการพบเห็นจริง
    6.  ถ้าต้องการจะแสดงความคิดเห็นประกอบ ควรแยกความคิดออกจากตัวข่าวหรือเรื่องราวที่เสนอไปนั้น
    7.  การเขียนบันทึกรายงาน  ถ้าเป็นของทางราชการ  ควรเป็นรูปแบบที่ใช้แน่นอน
    8.  เมื่อบันทึกเสร็จแล้ว  ต้องทบทวนและตั้งคำถามในใจว่า ควรจะเพิ่มเติมหรือตัดทอนส่วนใดทิ้ง  หรือตอนใดเขียนแล้วยังไม่ชัดเจน ก็ควรจะแก้ไขเสียให้เรียบร้อย

4.  การเขียนรายงานจากการค้นคว้า
    4.1  รายงานค้นคว้าเชิงรวบรวม  เป็นการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาเรียบเรียงปะติดปะต่อกันอย่างมีระบบระเบียบ
    4.2  รายงานค้นคว้าเชิงวิเคราะห์  การนำข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้มาวิเคราะห์ หรือค้นหาคำตอบในประเด็นให้ชัดเจน

5.  วิธีการนำเสนอรายงาน
    -  รายงานด้วยปากเปล่า (Oral Reports)  หรือเสนอด้วยวาจา  โดยการเสนอแบบบรรยายต่อที่ประชุมต่อผู้บังคับบัญชา ฯลฯ  ในกรณีพิเศษเช่นนี้ ควรจัดเตรียมหัวข้อที่สำคัญ ๆ ไว้ให้พร้อม  โดยการคัดประเด็นเรื่องที่สำคัญ  จัดลำดับเรื่องที่จะนำเสนอก่อนหน้าหลังไว้
    -  รายงานเป็นลายลักษณ์อักษร (Written Reports)  มักทำเป็นรูปเล่ม  เป็นรูปแบบการนำเสนออย่างเป็นทางการ (Formal Presentation)

6.  ลักษณะของรายงานที่ดี
    1.  ปกสวยเรียบ
    2.  กระดาษที่ใช้มีคุณภาพดี มีขนาดถูกต้อง
    3.  มีหมายเลขแสดงหน้า
    4.  มีสารบัญหรือมีหัวข้อเรื่อง
    5.  มีบทสรุปย่อ
    6.  การเว้นระยะในรายงานมีความเหมาะสม
    7.  ไม่พิมพ์ข้อความให้แน่นจนดูลานตาไปหมด
    8.  ไม่การการแก้ ขูดลบ
    9.  พิมพ์อย่างสะอาดและดูเรียบร้อย
    10. มีผังหรือภาพประกอบตามความเหมาะสม
    11. ควรมีการสรุปให้เหลือเพียงสั้น ๆ แล้วนำมาแนบประกอบรายงาน
    12. จัดรูปเล่มสวยงาม



การเขียนบรรณานุกรม


ความหมายของบรรณานุกรม
        บรรณานุกรม  คือ  รายชื่อหนังสือเอกสาร  สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ รวมทั้งโสตทัศนวัสดุ  และสื่ออีเล็กทรอนิกส์ ที่นำมาเป็นหลักฐานอ้างอิงในการเขียนรายงาน  โดยเรียงตามลำดับอักษรไว้ท้ายเรื่อง

จุดมุ่งหมายในการเขียนบรรณานุกรม
1.  ทำให้รายงานนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล  มีสาระน่าเชื่อถือ
                2.  
เป็นการเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่นจึงนำมาอ้างไว้
                3.  
เป็นแนวทางสำคัญสำหรับผู้สนใจต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมโดยศึกษาได้จากบรรณานุกรมนั้นๆ
                4.  
สามารถตรวจสอบข้อเท็จจริงที่นำมาอ้างได้                                                                                                                          วิธีเขียนบรรณานุกรม

1. บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย               
                  แบบ ก               
                  ชื่อ / ชื่อสกุล. / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /
                   / / / / / / /ปีที่พิมพ์. 
                 
ตัวอย่าง
                  แบบ ก 
                  กิตติกร  มีทรัพย์. จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์,
                                2544.

2. บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ 
                  แบบ ก
                  ชื่อสกุล. / ชื่อต้น / ชื่อกลาง(ถ้ามี). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์./ /เมืองที่พิมพ์/:/ผู้รับผิดชอบ
                  / / / / / / /ในการพิมพ์./ / ปีที่พิมพ์.
ตัวอย่าง
                  แบบ ก 
                  Hartley, Eric Key.  Childhood and society.  2 nd ed. New York : Mc Graw -
                               Hill, 1989.   

3.บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์ 
                  แบบ ก
                  ชื่อผู้เขียน. / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์. / / ชื่อเมืองที่พิมพ์ / : / ชื่อมหาวิทยาลัย, / 
                   / / / / / / / ปีที่พิมพ์.
ตัวอย่าง
                  แบบ ก
                  ภัคพร  กอบพึ่งตน.  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
                                 นครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.
                                 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2540.
                                   
4. บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ  
                  แบบ ก 
                  ชื่อผู้เขียน./ / "ชื่อตอนหรือบทความ" / ใน / ชื่อหนังสือ. / / หน้า / เลขหน้า. / / ชื่อบรรณาธิการ
                   / / / / / / / (ถ้ามี)./ / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์, /ปีที่พิมพ์.
ตัวอย่าง
                  แบบ ก 
                  สมจิต   หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ.  "การประเมินผลการพยาบาล"  ใน 
                                  เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ 8-15. 
                                  หน้า 749 - 781.  มยุรา  กาญจนางกูร, บรรณาธิการ.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์
                                  มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2536.

5. บรรณานุกรมบทความจากวารสาร 
                แบบ ก 
                ชื่อผู้เขียน. / / "ชื่อบทความ" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) / : / เลขหน้า; /
                / / / / / / / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
ตัวอย่าง
               แบบ ก 
               วิทยาคม  ยาพิศาล.  "การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตาม
                              แนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณภาพ"  กรมวิทยาศาสตร์การ 
                              แพทย์.  46(3) : 142 - 153 : กรกฎาคม - กันยายน 2547. 

6.บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร 
                แบบ ก 
                ชื่อผู้เขียน. / /"ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่) / : 
                / / / / / / /เลขหน้า ; / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.
ตัวอย่าง 
               แบบ ก 
               วิทยา  นาควัชระ.  "คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว" สกุลไทย.  40(2047) : 
                           191 - 192 ; 26 ตุลาคม 2544. 

7.บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์ 
               แบบ ก 
               ชื่อผู้เขียนบทความ. / / "ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์" /ชื่อหนังสือพิมพ์. / / วัน / เดือน/
               / / / / / / /ปี. / / หน้า / เลขหน้า.
ตัวอย่าง
               แบบ ก 
               นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  "เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู" ไทยรัฐ.  5 มิถุนาน 2546. 

8.บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ 
                แบบ ก 
                ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ./ / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ / ชื่อเมือง / : /
                 / / / / / / / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ, / ปีที่จัดทำ. 
  หน้า 2.  
ตัวอย่าง
                แบบ ก 
                สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย.  ประเด็นปัญหาการวิจัยทางการพยาบาลคลินิก. 
                               [เทปโทรทัศน์].   ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2537. 

9.บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์
     9.1 ฐานข้อมูล ซีดี - รอม

                 แบบ ก 
                 ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสือ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / / 
                  / / / / / / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. 
ตัวอย่าง
                แบบ ก 
                นพรัตน์  เพชรพงษ์.  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร. 
                              [ซีดี - รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.  เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัย
                              เชียงใหม่, 2545.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ 3, 2547.

9.2 ฐานข้อมูลออนไลน์ 
                 แบบ ก 
                 ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / 
                                เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน / ปี).
ตัวอย่าง
                  แบบ ก 
                  พิมลพรรณ  พิทยานุกูล.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก : http : 
      
                             / /www.ilb.buu.ac.th  (วันที่ค้นข้อมูล : 16 กันยายน 2546). 


แหล่งอ้างอิง : การเขียนรายงานที่ดี. (ออนไลท์) เข้าถึงได้จากhttp://www.tice.ac.th/Online2-2549/bussiness/nantapon/n5.htm 
การเขียนบรรณานุกรม.(ออนไลท์) เข้าถึงได้จากhttp://www.lib.nu.ac.th/nulibnet/index.php?topic178.0 (สืบค้นวันที่ 21 กันยายน 2556 )


วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

การเข้ามาของสเปนในไทย



มีหลักฐานจากการค้นคว้าของฝ่ายสเปนว่าเมื่อปี ค.ศ. 1540 ( พ.ศ. 2083 ) นาย Pero Diaz เป็นชาวสเปนคนแรกที่เดินทางมาไทย โดยขึ้นฝั่งที่จังหวัดปัตตานี เมืองขึ้นของอยุธยา ในสมัยพระไชยราชาธิราช นับเป็นชาวยุโรปชาติที่ 2 ที่เดินทางมาไทยในสมัยนั้น ต่อจากชาวโปรตุเกสซึ่งเดินทางมาไทยในสมัยพระรามาธิบดีที่ 2 เมื่อราวปี พ.ศ. 2061 ต่อมาในสมัยพระมหาธรรมราชา ในปี พ.ศ. 2129 นาย Santiago de Vera ข้าหลวงสเปนที่ปกครองฟิลิปปินส์ได้ส่งคณะผู้แทนเดินทางมาเปิดความสัมพันธ์ กับอยุธยา ซึ่งกษัตริย์ไทยให้ความสนใจ แต่ก็มิได้ดำเนินการอย่างไรต่อไป
 ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ไทยกับสเปน ได้ติดต่อค้าขายกันโดยผ่านทางฟิลิปปินส์ซึ่งเป็นอาณานิคมของสเปนโดยไทยส่งออกไม้และตะกั่ว ที่จำเป็นสำหรับการต่อเรือให้สเปนและซื้อสินค้าประเภทอาวุธจากสเปนแต่ความ สัมพันธ์ทางการค้าและอื่นๆไม่ค่อยก้าวหน้าเท่าไรนัก  เนื่องจากสเปนมีคู่แข่งคือโปรตุเกส ซึ่งวางรากฐานทางการค้าไว้อย่างมั่นคงแล้ว ในขณะที่การเผยแพร่ศาสนาคริสต์ของสเปนก็ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะกษัตริย์ไทยและชาวไทยไม่ได้ให้ความสนใจแต่อย่างใด
 หลังจากรัชสมัยพระนารายณ์ ช่วงปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา กษัตริย์ไทยรัชกาลต่อๆมา ไม่โปรดปรานชาวตะวันตก เพราะเกรงว่าจะเข้ามายึดครองไทยและครอบงำทางศาสนา จึงขับไล่ทั้งฝรั่งเศส โปรตุเกส ฮอลันดา และสเปนออกไปจากประเทศเป็นจำนวนมาก
 ชาวยุโรปเริ่มเข้ามาเมืองไทยอีกครั้งตั้งแต่รัชกาลที่ 2 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในรัชกาลที่ 4 ถือเป็นยุคสำคัญของการติดต่อสัมพันธ์ระหว่างระหว่างไทยกับประเทศตะวันตกซึ่ง กำลังล่าเมืองขึ้นในเอเชียอย่างขะมักเขม้น
สเปนและไทยได้ทำสนธิสัญญาทางไมตรีการพาณิชย์ และการเดินเรือ ซึ่งถือเป็นการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันเมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2413 ( ค.ศ. 1870 ) ในรัชกาลที่ 5 ช้ากว่าที่ไทยทำกับประเทศตะวันตกอื่นๆกว่า 10 ปี   ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2426 ไทยได้ตั้งอัครราชทูตประจำยุโรปให้ดำรงตำแหน่งอัครราชทูตไทยประจำกรุงมาดริด ด้วย และในปี พ.ศ. 2504 ได้ยกระดับเป็นสถานเอกอัครราชทูตโดยได้ตั้งเอกอัครราชทูตไทยคนแรกไปประจำ กรุงมาดริดเมื่อ พ.ศ. 2506
หม่อมเจ้าปฤษฎางค์ ชุมสายอัครราชทูตประจำกรุงลอนดอนดำรงตำแหน่งอัครราชทูตไทยประจำกรุงมาดริดเป็นคนแรก และทั้งสองฝ่ายได้ยกฐานะสถานอัครราชทูตขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูตฯ เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2504 (ค.ศ. 1961) ไทยได้เปิดสถานเอกอัครราชทูตขึ้นเป็นครั้งแรก ณ กรุงมาดริด เมื่อปี 2506 (ค.ศ. 1963) และแต่งตั้งนายมนู อมาตยกุล ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูต ณ กรุงมาดริดคนแรกเอกอัครราชทูตไทยประจำประเทศสเปนนางอัจฉรา เสริบุตร
เอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย H.E. Juan Manuel Lopez Nadal
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำนครบาร์เซโลน Mr. Jaime Sabate Herce
กงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยประจำ Santa Cruz de Tenerife Mr. Wolfgang Kiessling(หมู่เกาะคะเนรี)
หมายเหตุ : * สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมาดริด มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศตูนิเซีย
* สถานเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา
 นอกจากสถานเอกอัครราชทูตแล้ว ที่กรุงมาดริด ไทยยังมีสำนักงานผู้ช่วยทูตฝ่ายทหารและทหารเรือ สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ และสำนักงานการบินไทย นอกจากนี้ มีสถานกงสุลใหญ่กิตติมศักดิ์ไทยอีก 2 แห่ง ที่นครบาร์เซโลน่า และที่หมู่เกาะคานารี

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ (ข้อมูลปี ๒๕๕๔)
สเปนเป็นคู่ค้าอันดับที่ 25 ของไทย และเป็นลำดับที่ 7 ในกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (European Union - EU) ในปี 2555 มูลค่าการค้ารวมระหว่างกัน 1,437.21 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 807 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้า 630.20 ล้านดอลลาร์สหรัฐ  ไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า 176.80 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าสำคัญที่ไทยส่งออก ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม ยางพารา เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ ผลิตภัณฑ์ยาง อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ กุ้งสดแช่เย็น และแช่แข็ง
สินค้านำเข้าจากสเปน ได้แก่ เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ผลิตภัณฑ์เวชกรรม และเภสัชกรรม เหล็ก เหล็กกล้า ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนตื ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์โลหะพืชและผลิตภัณฑ์จากพืช   

ปัญหาและอุปสรรคด้านการค้า
1) สเปนเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป ทำให้ปัญหาการค้าทวิภาคีไทย-สหภาพ ยุโรป กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการค้าระหว่างไทยและสเปนด้วย
2) สเปนตรวจพบสารแคดเมี่ยมในปลาหมึกในน้ำมันและปลาหมึกแช่แข็ง เชื้อ salmonella ในปลาหมึกแช่แข็ง เชื้อแบคทีเรียในปลา Hake เชื้อ vibrio Chelerae ในกุ้งกุลาดำ สาร 3MCPD ในซอสปรุงรส เชื้อ Aerbio Mesofilos ในปลาหมึกแช่แข็ง และเพลี้ยไฟในดอกกล้วยไม้ นำเข้าจากไทย จึงได้ใช้มาตรการกักกันสินค้าที่มีปัญหาเพื่อนำตัวอย่างไปตรวจวิเคราะห์ก่อน (automatic detention) หากตรวจไม่พบเชื้อโรคจะอนุญาตให้นำเข้าได้ การยกเลิกมาตรการดังกล่าวอยู่ในดุลพินิจของหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบ

ความสัมพันธ์ด้านการลงทุน
ในปี 2555 มีโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 2 โครงการ มูลค่ารวม 1,540 ล้านบาท ซึ่งเป็นอันดับที่ 7 ในยุโรป 

ความสัมพันธ์ด้านการท่องเที่ยว
ในปี 2555 มีจำนวนนักท่องเที่ยวสเปนเดินทางมาประเทศไทย จำนวน 113,270 คน



สืบค้น : เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับอาณาจักรสเปน (ออนไลน์)เข้าถึงได้จากhttp://www.bloggang.com/viewblog.php?id=ibmgang&date=12-08-2008&group=4&gblog=5
http://www.ayutthayastudies.aru.ac.th/content/view/698/32/  สืบคืนวันที่ 1 กันยายน 2556